×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

13 หุ้น ROE-ROA จูงใจ ปัจจัยพื้นฐานแน่น

1,885

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

ROE คือ อัตราส่วนทางการเงินที่วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทและประสิทธิภาพในการสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้น เพื่อบอกว่าบริษัทใช้เงินลงทุนของผู้ถือหุ้นแล้วนำไปสร้างรายได้ได้ดีมากน้อยเพียงใด

 

สูตรคำนวณ ROE = กำไรสุทธิหารส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อได้ผลลัพธ์ก็นำมาคูณด้วย 100 คำตอบเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

 

ROE ใช้วัดประสิทธิภาพของบริษัทว่าสามารถสร้างกำไรจากส่วนของทุนที่ลงไปได้มากน้อยแค่ไหน เช่น บริษัท A มีกำไรสุทธิ 60 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้น 300 ล้านบาท ดังนั้น ROE เท่ากับ 20% (60/300 x 100) หมายความว่า บริษัทสามารถนำเงินในส่วนของผู้ถือหุ้น 300 บาท ไปสร้างผลตอบแทนแล้วได้ออกมาเป็นกำไร 20 บาท

 

  • ROE มากกว่า 0 หมายความว่า บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้
  • ROE น้อยกว่า 0 หรือติดลบ หมายความว่า บริษัทขาดทุน ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้

 

ดังนั้น บริษัทที่มี ROE ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดี เพราะสะท้อนว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรหรือผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้มาก และมีโอกาสจ่ายเงินปันผลหรือราคาหุ้นขยับขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ROE ไม่มีค่ามาตรฐานว่าควรอยู่ระดับไหน เพราะแต่ละบริษัทก็มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน เช่น นโยบายการดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม ดังนั้น การเปรียบเทียบ ROE ควรอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน  

 

ที่สำคัญบริษัทที่มี ROE สูง อาจไม่ได้หมายความว่าน่าสนใจเสมอไป เพราะสิ่งหนึ่งที่ ROE บอกไม่ได้ คือ ตัวเลขหนี้สิน เพราะบริษัทที่มีหนี้สินมาก ย่อมทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง จนทำให้ ROE ปรับขึ้น

 

เช่นบริษัท A และบริษัท B มีสินทรัพย์เท่ากันที่ 1,000 บาท มีรายได้เท่ากันที่ 120 บาท แต่บริษัท A มีหนี้สิน 500 บาท ขณะที่บริษัท B มีหนี้สิน 200 บาท 

 

ดังนั้น ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท A จะอยู่ที่ 500 บาท ขณะที่บริษัท B อยู่ที่ 800 บาท เมื่อคิดตามสูตร บริษัท A จะมี ROE 24% ขณะที่บริษัท B มี 15% หมายความว่าถึงแม้บริษัท A มี ROE สูงกว่า แต่เนื่องจากมีหนี้สินมากกว่า นักลงทุนอาจพิจารณาความเสี่ยงด้านหนี้สินประกอบด้วย

 

ROA ใช้ประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อบอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหนจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ เช่น บริษัท C มีกำไรสุทธิ 150,000 บาท มีสินทรัพย์รวม 1,000,000 บาท แสดงว่ามี ROA เท่า 15% หมายความว่าสินทรัพย์ทุก 100 บาท สามารถสร้างกำไรได้ 15 บาท 

 

สูตรคำนวณ ROA = กำไรสุทธิหารสินทรัพย์รวม เมื่อได้ผลลัพธ์ก็นำมาคูณด้วย 100 คำตอบเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

 

  • ROA มากกว่าหรือสูง หมายความว่า บริษัทสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ROA น้อยกว่าหรือต่ำ หมายความว่า บริษัทไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ยิ่งมีค่ามาก ยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการสินทรัพย์ไปสร้างเป็นกำไรได้มาก แสดงถึงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ

 

เช่นเดียวกัน ROA ไม่มีค่ามาตรฐานว่าควรอยู่ระดับไหน ดังนั้น ควรเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีธุรกิจเหมือนกัน หรือเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น 

 

สำหรับประเด็นที่นักลงทุนไม่สามารถมองข้าม คือ โดยทั่วไปค่า ROA จะน้อยกว่าค่า ROE เพราะจากสมการงบดุล คือ มูลค่าสินทรัพย์ = มูลค่าหนี้สิน + มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น จึงคำนวณได้ว่ามูลค่าของสินทรัพย์ย่อมมากกว่ามูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อคำนวณ ROA ซึ่งใช้กำไรสุทธิหารด้วยมูลค่าสินทรัพย์ ย่อมมีโอกาสที่จะได้ค่าน้อยกว่าค่า ROE เนื่องจากตัวหารที่มีมูลค่าน้อยกว่า

 

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีมีโอกาสที่ ROE มีค่าน้อยกว่า ROA เพราะจากการที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงเกินไปหรือค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงเกินไป ทำให้มีกำไรสุทธิลดลง ดังนั้น การที่บริษัทมีค่า ROE ต่ำจนกระทั่งน้อยกว่า ROA สะท้อนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในการบริหารจัดการ เช่น มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายต่ำเกินไป หรือกู้เงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ หรือลงทุนมากเกินไป จึงมีค่าใช้จ่ายทางการเงินสูง และกดดันให้มีกำไรสุทธิในแต่ละงวดน้อยเกินไป ดังนั้น นอกจากการใช้ ROE และ ROA ในการคัดกรองหุ้น ควรใช้อัตราส่วนการเงินอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ความสามารถในการทำกำไร D/E Ratio เพื่อทำให้การประเมินหุ้นมีความแม่นยำยิ่งขึ้น

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats