Checklist สักนิดก่อนคิดเป็นหนี้
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ถ้าเลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากจะปวดหัวกับหนี้ก้อนโตใช่มั้ย ยิ่งเวลาที่เราอยากจะยื่นใบลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่คำว่า “หนี้” ตัวนี้นี่แหละที่อาจจะทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนไปไหนไม่ได้ ฉะนั้นก่อนคิดที่จะสร้างหนี้ไว้เยอะ ๆ เราควรตั้งคำถามกับตัวเองซะก่อนว่า…
1.เรากําลังเป็นหนี้เพราะความจําเป็น (Need) หรือความต้องการ (Want)
Want หรือ ความต้องการนั้นหมายถึง เราอยากได้สิ่งนั้น ๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นก็ได้ หรือเราอาจจะมีแล้ว แต่เราแค่ต้องการมัน
Need หรือความจำเป็นนั้นหมายถึงความจำเป็นในการใช้สิ่งของนั้นๆถ้าไม่มีไม่ได้
คำถามนี้เป็นคำถามเริ่มต้นที่สำคัญลองทบทวนให้ดีว่าเรากำลังจะเป็นหนี้เพราะความจำเป็นหรือเพราะความต้องการกันแน่
2.เราจะมีเงินเพียงพอผ่อนชําระหนี้ไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่
ถ้าจะให้ดีก่อนคิดเป็นหนี้ คุณควรถามตัวเองก่อนว่าเรามีเงินสำรองเพียงพอสำหรับรายจ่าย 3-6 เดือนแล้วหรือยังถ้ายังไม่มีก็ควรเก็บเงินส่วนนี้ให้ได้เสียก่อนเพราะในวันข้างหน้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นมาเราก็ยังไม่เงินส่วนนี้ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน
3.ยอดเงินผ่อนหนี้จะกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจําวันของเราหรือไม่
ไม่ว่าคุณจะเป็นหนี้ก้อนใหม่ ก้อนเก่า หนี้ก้อนเล็ก ก้อนโต แต่หนี้ก้อนรวมกันแล้ว เกินกว่า 40 % ของรายได้ต่อเดือนของเราหรือไม่ ถ้าเกินก็อาจสร้างปัญหาการผ่อนชำระให้กับเราได้ในอนาคต
4.ดอกเบี้ยต่องวดและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายคุ้มค่ากับการเป็นหนี้หรือไม่
“หนี้” มีทั้งหนี้ดี ซึ่งหมายถึง หนี้ที่สร้างโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เช่น หนี้เพื่อการศึกษา อบรมเพิ่มพูนความรู้ หรือกู้ซื้ออสังหาฯ และหนี้เลว หมายถึง หนี้เพื่อการบริโภค หนี้เพื่อสิ่งของไม่จำเป็นที่มีแต่ด้อยค่าไปเรื่อย ๆ ฉะนั้นถ้าเราเป็นหนี้ดี ก็หมายถึงดอกเบี้ยที่เราจ่ายไปคุ้มค่ากับการเป็นหนี้
5. มีทางเลือกอื่นๆ นอกจากการเป็นหนี้ใช่หรือไม่
ในบางครั้งธุรกิจที่เราทำอยู่อาจจะประสบปัญหาเงินหมุนไม่ทัน แต่ก็ไม่อยากจะไปกู้เงินด่วน ดอกเบี้ยสูง ก็อาจจะลองมองดูทางเลือกอื่น เช่น การเดินเข้าโรงรับจำนำ เอาของมีค่าไปจำนำไว้ก่อน เมื่อเรามีเงินก้อนกลับเข้ามาก็ค่อยไปไถ่ทรัพย์ของเราคืนมา
อย่างน้อย ๆ การ Checklist ก่อนคิดเป็นหนี้ ก็ถือเป็นตัวกรองชั้นดีที่จะทำให้เราเป็นคนที่รอบคอบกับการใช้จ่ายเงินได้มากขึ้น