×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

Checklist ก่อนคิดซื้อบ้าน

5,726

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

“อยากมีบ้านหรือคอนโดสักหลัง” คงเป็นฝันของใครหลายคน แต่จะเลือกบ้านอย่างไร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้างคงเป็นเรื่องที่ต้องเช็กกัน

 

ราคาบ้านที่ต้องดู

ขึ้นอยู่กับเงินเดือนหรือรายได้ เช่น คนอายุไม่เกิน 3040 ปี ที่เงินเดือน 20,000 บาท จะซื้อบ้าน/คอนโดได้ที่ราคา 1.33 ล้านบาท แต่ต้องมีเงินดาวน์อย่างน้อย 10% ของราคาบ้าน โดยกู้ได้ 1.20 ล้านบาท และผ่อนเดือนละ 8,000 บาท สำหรับสัญญา 30 ปี

 

สำหรับใครที่เงินเดือนสูงกว่านี้ เช่น 50,000 บาท ก็ซื้อบ้านได้ราคาสูงขึ้นเป็น 3.32 ล้านบาท (= 1.33 ล้านบาท x 50,000 ÷ 20,000) โดยเป็นเงินกู้ 3 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อวงเงินกู้ด้วย เช่น ภาระหนี้ที่มีอยู่ โครงการบ้าน/คอนโด อัตราดอกเบี้ย รวมถึงโปรโมชั่นของแต่ละธนาคารด้วย

 

เงินก้อนที่เตรียม

ประกอบด้วยหลายส่วน เช่น (1) เงินที่จ่ายตอนตัดสินใจซื้ออย่าง ค่าจอง 5,000 – 20,000 บาท (2) เงินที่จ่ายที่สำนักงานที่ดินอย่าง ค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ รวมประมาณ 3.05% ของราคาบ้านหรือวงเงินกู้ (3) เงินดาวน์หรือเงินส่วนต่างราคาบ้านกับวงเงินกู้ อย่างน้อย 5%-20%ของราคาบ้าน (4) เงินที่จ่ายให้โครงการอย่างค่าส่วนกลาง เงินกองทุนส่วนกลาง และ (5) เงินค่าตกแต่งรวมถึงค่าขนย้ายบ้าน

 

ค่าใช้จ่ายที่ต้องเผื่อ

เมื่อมีบ้านแล้ว นอกจากค่าผ่อนหนี้ที่ต้องจ่ายทุกเดือนให้ธนาคาร ยังมีค่าใช้จ่ายประจำที่คนไม่เคยมีบ้านอาจนึกไม่ถึง เช่น ค่าประปา/ไฟฟ้าที่ต้องจ่ายทุกเดือน ค่าส่วนกลางและค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่ต้องจ่ายทุกปี ซึ่งหากไม่ได้เผื่อเงินส่วนนี้ไว้โดยเฉพาะเงินที่ต้องจ่ายปีละครั้งที่มักสูงถึงหลักหมื่นบาท ก็อาจประสบปัญหาการเงินได้

 

เกร็ดอื่นๆ

ที่ควรรู้ เช่น (1) ควรย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านทันที เพราะหลัง 1 ปีเต็ม หากจำเป็นต้องขายบ้านภาระภาษีจะไม่สูงมาก (2) อย่ากู้ร่วมถ้าไม่จำเป็น เพราะจะส่งผลต่อการขอกู้ในอนาคตของผู้กู้ร่วมแต่ละคน (3) คิดให้ดีว่ากรรมสิทธิ์จะถือเดี่ยวหรือถือร่วม เพราะหากเปลี่ยนแปลงภายหลังจะเข้าข่ายการซื้อขายบ้านซึ่งมีภาระภาษีและค่าใช้จ่ายตามมา

 

การซื้อบ้าน อย่าคิดแค่ว่ากู้ธนาคารผ่านหรือไม่ แต่ต้องคิดถึงเงินก้อนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมา รวมถึงสิทธิและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจซื้อบ้านแต่ละครั้งอยู่บนความเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดภาระเกินตัวในอนาคต

ให้เงินทำงาน, หนี้, เก็บเงินเก่ง, วางแผนการเงิน, การใช้จ่าย, เงินเดือน

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats