×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

ทำความเข้าใจ…เศรษฐกิจไทยแค่ “ชะลอตัว”

13,790

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ดูแย่ลง แย่ลง!!  ซึ่งเป็นผลพวงจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และ จีน ทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย และจะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ Recession หรือไม่ 

 

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันในงาน Analyst Meeting ครั้งที่ 4/2562 เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย ไม่ได้เกิดวิกฤต แต่แค่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ  โดย ธปท. คาดการณ์ GDP ของไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 2.8%  จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.3. % ส่วนปี 2563 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.3%

 

ขณะที่เพจธนาคารแห่งประเทศไทย โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับคำนิยามของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว  หดตัว และ ถดถอย ต่างกันยังไง ? พร้อมกับย้ำว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเป็นเพียงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ไม่ได้ถึงขั้นเศรษฐกิจหดตัวหรือ ถดถอย และที่ผ่านมาหลายคนอาจจะสับสนว่าภาวะเศรษฐกิจทั้ง 3 แบบนี้ มีความหมายแบบเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่

 

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

หมายถึง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงจากช่วงก่อนหน้า แต่ยังเป็นบวก  เช่น GDP ปีก่อนอยู่ที่ 5 % ปีนี้อยู่ที่ 3 %

 

ภาวะเศรษฐกิจหดตัว

หมายถึง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงจากช่วงก่อนหน้าจนติดลบ เช่น GDP  ปีก่อนอยู่ที่  4 %  ปีนี้อยู่ที่ -1%

 

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ( Recession )

หมายถึง ภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวยาวนาน  โดยทั่วไปวัดจากข้อมูล GDP ที่ปรับฤดูกาลหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ติดต่อกัน 2 ไตรมาสขึ้นไป

 

ปัจจุบันเศรษฐกิจไทย เป็นเพียงภาวะชะลอตัวเท่านั้น โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา  GDP ขยายตัวอยู่ที่ 4.1 %  ขณะที่ในปี 2562  ธปท.ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ 2.8 % เช่นเดียวกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจหลายแห่งที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จากหลายปัจจัยลบที่เข้ามากดดัน

 

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจมองว่า GDP จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง

  • การส่งออกในปีนี้จะขยายตัวติดลบ ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน แต่ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทยเท่านั้น แต่กระทบทั่วทั้งภูมิภาคอย่างชัดเจน
  • ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก และการแข็งค่าของเงินบาท
  • ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง รุนแรงกว่าที่คาด
  • การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐยังอยู่ในระดับต่ำ

 

ดังนั้น  จึงต้องรอติดตามผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกว่า 3 แสนล้านบาท จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้เพียงใด  รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่หลายหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ คาดว่า คณะกรรมการนโยบาการเงิน หรือ กนง. มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก 1 ครั้งภายในปีนี้ หลังจากเมื่อวันที่ 7 ส.ค.62 ที่ผ่านมา ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงไปแล้ว 0.25%

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats