×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

รู้สิทธิเรียกสินไหมทดแทน “ประกันรถยนต์”

16,009

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เกือบ 100% ของคนมีรถจะซื้อประกันรถยนต์อยู่แล้ว นอกเหนือจากประกันพ.ร.บ. ภาคบังคับ ที่ต้องซื้อ เพราะถ้าไม่มีก็ต่อทะเบียนไม่ได้เท่ากับว่ารถส่วนใหญ่จะมีประกัน 2 ประเภทคุ้มครองอยู่

 

แล้วแบบนี้ หากเกิดอุบัติเหตุ จะเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันอย่างไรดี มาดูกันว่า

 

ขั้นตอนการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือ “ค่าสินไหมทดแทน” จากบริษัทประกันภัย เป็นอย่างไร

 

ขั้นที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมจากประกัน พ.ร.บ. ก่อน  (ประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำเพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคล (ไม่คุ้มครองทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้น) ที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่

 

กฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด

โดยมีวงเงินคุ้มครอง ดังนี้

 

  1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
  2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อคน
  3. เงินชดเชยรายวัน (ผู้ป่วยใน) ไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน (ระยะเวลารวมไม่เกิน 20 วัน)
  4. วงเงินความคุ้มครองต่อครั้ง ไม่เกิน 5,000,000 บาท

 

ขั้นที่ 2 ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายกับประกันภัยภาคสมัครใจ (ประกันภัยทุกประเภท) ความคุ้มครองของประกันภัยภาคสมัครใจ ประกอบด้วย

 

  • ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก ถ้าผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยคุ้มครองทั้งความรับผิดต่อความบาดเจ็บ เสียชีวิต

 

บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย

 

โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แต่จะไม่คุ้มครองผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่ เพราะไม่ถือเป็นบุคคลภายนอก

 

  • อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บทำให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

 

  • ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บทำให้บุคคลนั้นต้องรับการรักษาพยาบาล บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

 

ปัจจุบันพบปัญหาของการทำประกัน  พ.ร.บ. กับประกันภาคสมัครใจคนละบริษัท เนื่องจากเวลาจ่ายค่าสินไหมต้องให้บริษัทประกันที่ออกประกัน พ.ร.บ.จ่ายก่อน หลังจากนั้นบริษัทที่ออกประกันภาคสมัครใจจึงจะจ่ายสินไหมได้ ทำให้การรับเงินล่าช้า ซึ่งถ้าทำประกัน พ.ร.บ. กับประกันภาคสมัครใจบริษัทเดียวกันจะส่งผลให้เดินเรื่องสะดวกและต่อเนื่อง เพราะบริษัททราบเรื่องมาตั้งแต่ต้น ไม่ต้องเล่าเรื่องซ้ำๆ หรือยื่นเอกสารหลายรอบ ทำให้เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยได้ง่ายกว่า เร็วกว่าเพราะเคลมแค่บริษัทเดียว

 

ข้อควรระลึกถึงเสมอ คือ ระหว่างการตกลงเจรจาค่าเสียหาย หากมีข้อความที่ระบุว่า “ผู้รับสัญญาตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดทั้งทางแพ่ง และทางอาญาต่อผู้ให้สัญญาและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆอีกต่อไป โดยให้ถือว่ามูลละเมิดดังกล่าวได้ระงับสิ้นไปแล้ว” นั้น ผู้เสียหายห้ามลงชื่อยินยอมในเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาด

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats