×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

หลักกระจายการลงทุนใน “กองทุนรวม”

16,085

 

หากพูดถึงการจัดพอร์ต “กองทุนรวม” นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงการซื้อกองทุนหลายๆ กอง หรือกระจายการลงทุนไปหลายๆ บลจ. แต่ความจริงแล้วการทำแบบนั้นนอกจากจะไม่กระจายแล้ว อาจจะเป็นการกระจุกตัวด้วยซ้ำ!

 

เพราะนักลงทุนมักมองว่าแต่ละกองทุนจะมี การกระจายการลงทุนให้อยู่แล้ว

  • กองทุนรวมตราสารหนี้
    มีนโยบายการลงทุนไปลงทุนในตรารหนี้ระยะสั้น กลาง ยาว หุ้นกู้ภาคเอกชนหลากหลาย
  • กองทุนรวมตราสารทุน
    แต่ละกองจะลงทุนในหุ้นตามนโยบายของกองทุนนั้นๆ เช่น ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลางและเล็ก หุ้นปันผล หรือเน้นลงทุนหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ
  • กองทุนรวมตราสารทุนหรือตราสารหนี้ที่ไปลงทุนต่างประเทศ

มีนโยบายการลงทุนหลากหลาย

 

เมื่อแต่ละกองทุนมีการกระจายการลงทุนในลักษณะหลากหลาย นักลงทุนจึงมองว่าหากลงทุนแบบปูพรม เช่น 15 กองทุน 20 กองทุน ย่อมหมายถึงยิ่งซื้อจำนวนกองทุนมาก ประสิทธิภาพการกระจายความเสี่ยงก็มากตามไปด้วย…แต่เดี๋ยวก่อน!

 

การซื้อกองทุนเป็นสิบๆ กองอาจกระจายความเสี่ยง “เพียงเล็กน้อย” เพราะกองทุนอาจจะมีนโยบายการลงทุนแทบไม่แตกต่างกัน

 

เช่น ลงทุน “กองทุนรวมตราสารทุน” 3 กอง กับ 3 บลจ. (บลจ. ละ 1 กอง) แต่เมื่อเข้าไปดูนโยบายการลงทุนพบว่าทั้ง 3 กองนี้ เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มดัชนี SET50 ยิ่งไปกว่านั้นสัดส่วนหุ้นที่ถือสูงสุด 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่ก็เป็นหุ้นตัวเดียวกัน

 

ขณะที่ลงทุน “กองทุนตราสารหนี้” 5 กอง พบว่ามีนโยบายการลงทุนแทบไม่แตกต่างกัน โดยทั้งหมดลงทุนพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้บริษัทเดียวกัน และสัดส่วนการลงทุนก็ใกล้เคียงกัน

 

หรือซื้อ “กองทุนตราสารทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ” 3 กองทุน กับ 3 บลจ. (บลจ. ละ 1 กอง) พบว่าทั้งหมดมีนโยบายไปลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

 

ถ้าเป็นเช่นนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่า แม้เราจะลงทุนหลายๆ กองทุน แต่นโยบายการลงทุนมีความเหมือนหรือใกล้เคียง ก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการกระจายความเสี่ยงลดน้อยถอยลง ดังนั้น “ต้องดูนโยบายการลงทุนก่อนลงทุนเสมอ”

 

มีคำถามตามมาว่า นักลงทุน “ควรลงทุนกองทุนรวมกี่กอง” ถึงจะพอเหมาะพอควร

 

ซึ่งตามทฤษฎีการวางแผนการลงทุน ควรแยกการลงทุนออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ กองทุนหลักกับกองทุนรอง จากนั้นก็วางแผนว่าแต่ละประเภทจะให้น้ำหนักมากน้อยแค่ไหน แล้วก็คัดเลือกกองทุนว่าจะเป็นกี่กอง วิธีการดังกล่าว เรียกว่าการจัดพอร์ตลงทุนผ่านกองทุนรวม

 

“กองทุนหลัก”

 

เป้าหมายหลักเพื่อการลงทุนระยะยาว โดยส่วนใหญ่นักวางแผนการเงินจะแนะนำให้เลือกกองทุนประมาณ 3 – 4 กองทุน โดยแต่ละกองทุนจะมีความมั่นคงปลอดภัย ความเสี่ยงไม่สูงมากนัก มีประวัติผลการดำเนินงานที่ดี ผลตอบแทนเติบโตต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวา นั่นคือพึ่งพาอาศัยในระยะยาวได้ โดยน้ำหนักราวๆ 50 – 60% ของพอร์ตลงทุนโดยรวม

 

หากเป็น “กองทุนรวมหุ้น” เลือกกองที่มีนโยบายการลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ (เช่น SET50) มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง หรือกองทุนหุ้นที่มีนโยบายเน้นลงทุนหุ้นปันผลจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เป็นต้น ส่วน “กองทุนรวมตราสารหนี้” เลือกนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง (เช่น AAA, AA, A) เป็นต้น

 

“กองทุนรอง”

 

น้ำหนักการลงทุนประมาณ 40 – 50% ของพอร์ตลงทุนโดยรวม ด้วยการเน้นเลือกกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อทำให้ผลตอบแทนของพอร์ตลงทุนดูดีขึ้น แต่ยังคงเน้นกองทุนที่มีความมั่นคง ผลตอบแทนไม่หวือหวา เช่น ถ้าเป็น “กองทุนรวมหุ้น” ก็เลือกกองที่มีนโยบายลงทุนหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ส่วน “กองทุนรวมตราสารหนี้” ก็เลือกกองที่มีนโยบายเน้นลงทุนหุ้นกู้กลุ่มที่มีคุณภาพสามารถลงทุนได้ (Investment Grade)

 

แต่ถ้านักลงทุนต้องการกระจายการลงทุนไปมากกว่านี้ ก็สามารถทำได้ด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนกองทุนหลักและกองทุนรองลง เพื่อนำมาลงทุนในกองทุนอื่นๆ เช่น กองทุนรวมน้ำมัน และกองทุนรวมทองคำ เพื่อทำกำไรในช่วงที่ราคาน้ำมันและราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งกองทุนเหล่านี้สามารถซื้อขายในระยะสั้นได้ แม้กระทั่งกองทุนรวมที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ นับเป็นทางเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats