×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

#เราต้องรอด : บทบาท “ผู้นำ” ในภาวะวิกฤต

3,375

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

 

#เราต้องรอด Special มีโอกาสสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ CMO SCBหนึ่งในผู้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เมื่อครั้งปี 2540

นี่คือมุมมองที่น่าสนใจในประเด็น ‘ผู้นำ ในภาวะวิกฤต’

 

วิกฤตรอบนี้ส่งผลในมิติไหนบ้าง?

 

ถ้าเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่เป็นวิกฤตภาคการเงิน คนที่ได้รับผลกระทบก็ส่วนมากเป็นคนที่มีเงินหรือบริษัทใหญ่ๆ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาของคนรวย ส่วนคนทั่วไปก็ได้รับผลกระทบบ้างโดยเฉพาะลูกจ้าง แต่ก็ยังมีภาคการเกษตรในชนบทที่ยังรองรับได้

 

แต่วิกฤตรอบนี้หนักกว่ารอบที่แล้วเนื่องจากได้รับผลกระทบกันทั้งโลก แต่ข้อดีของประเทศไทยคือภาคการเงินการคลังของประเทศแข็งแกร่งขึ้นมากจากวิกฤตต้มยำกุ้ง และคาดว่าเราจะรองรับวิกฤตรอบบนี้ได้นานกว่ารอบที่แล้ว

 

อาจเรียกได้ว่าวิกฤตรอบนี้เป็น “Problems of the poor” แต่วิกฤตรอบที่แล้วเป็น “Problems of the rich” ในส่วนของ “Problems of the poor” เป็นปัญหาที่คนรายได้น้อยได้รับผลกระทบในวงกว้าง อีกทั้งภาคการเกษตรก็รองรับไม่ได้เพราะเกิดปัญหาภัยแล้งในช่วงเวลานี้ ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาชนิดใหม่ที่เราไม่เคยเจอ

 

ผู้นำควรทำอะไรในเวลานี้?

 

ผู้นำต้องมองหาทางออกหรือแสงสว่างให้เจอ และต้องมีกระแสเงินสดให้อยู่รอดและเพียงพอ เช่น การลดเงินเดือน เลิกจ้างงานบางส่วน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจในระยะสั้นเพื่อให้องค์กรรอดไปได้

 

ส่วนหลังวิฤตต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาใน “สถานการณ์” เปลี่ยนแปลงไปทำให้ประสบการเดิมใช้ไม่ได้ ดังนั้นผู้นำที่ดีควรมี “Ability to learn” คือต้องยอมรับว่าประสบการณ์ในครั้งก่อนใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเริ่มหาข้อมูลใหม่ ต้องไม่ใช้ common sense และต้องรับฟังเยอะขึ้น

 

ส่วนที่สองคือ “สถานะ” เปลี่ยน โดยผู้นำมีหน้าที่ที่จะต้องหาอัตลักษณ์ตัวเอง ต้องเป็นตัวจริงในอุตสาหกรรมที่ตัวเองอยู่ เพราะหลังจากนี้ Demand จะน้อยลง และ Supply เพิ่มขึ้น ถ้าเราเป็นบริษัทกลางๆ ขายของกลางๆ ไม่รอดแน่นอน

 

อีกทั้งผู้นำจะต้องมี “ค่านิยม” เปลี่ยนไป คือต้องรับฟังมาขึ้น มีความเสียสละมากขึ้น  และต้องยอมรับคนอื่นมากขึ้น

 

สรุปเป็นสองประเด็นคือ หนึ่งคือ ต้องเอาตัวเองให้รอด รักษากระแสเงินสดให้รอด คือองค์การยังต้องแข็งแรงอยู่ อย่างที่สองคือ communicate คือการรู้จักการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

 

สิ่งที่จะเป็น New Normal ?

 

หากเป็นพนักงาน วิกฤตเป็นโอกาสของลูกจ้างในการแสดงฝีมือ แสดงทัศนคติที่ดีต่อองค์กรหรืองานที่ทำ ภายหลังจากวิกฤตอาจจะได้รับผลดีจากการกระทำในช่วงวิกฤต และส่วนที่เป็นผู้บริหาร/บริษัท หลังจากวิกฤตแล้วต้องเป็นตัวจริง คนที่ทำอะไรกลางๆ อาจจะไม่รอด ควรสร้างอัตลักษณ์องค์กร ซึ่งสามารถสร้างได้หลายทาง

 

ผู้นำที่จะ “รอด” กับ “ไม่รอด”

 

“Mindset” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องยอมรับก่อนว่าปัญหาอะไรที่แก้ได้หรือแก้ไม่ได้ ยอมรับในสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วพยายามปรับตัวให้ได้ มีความยืดหยุ่น และพยายามตั้งคำถามว่า “ทีเด็ด” ของคุณคืออะไร อย่างเช่น การสร้างคนเก่งในองค์กร ทำให้ตัวที่สามารถแบ่ง “ผู้รอด” กับ “ไม่รอด” ในวกฤตครั้งนี้ได้ คือ “Mindset” นั่นเอง

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats