×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

สำรวจ PVD สักนิด เพื่อชีวิตเกษียณที่ดี

5,324

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ว่ามนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มีการสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อเก็บออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ แต่หลายคนส่งเงินเข้า PVD แบบขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้เมื่อเกษียณอายุ เงินก้อนโตที่ได้รับกลับไม่เพิ่มมูลค่าได้อย่างที่ควรจะเป็น วันนี้จึงอยากชวนมนุษย์เงินเดือนให้กลับมาสำรวจ PVD ของตนเองในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

ยอดเงินลงทุนในแต่ละเดือน

ปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการสะสมเงินเข้า PVD ของลูกจ้าง กำหนดไว้ว่า สามารถสะสมได้ 2-15% ของเงินเดือน ขณะที่นายจ้างก็มีการสมทบเงินให้ในสัดส่วน 2-15% ของเงินเดือนเช่นกัน โดยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทนั้นๆ  

 

หลายคนเมื่อเริ่มทำงาน เงินเดือนยังไม่มาก หรือมีภาระทางการเงินสูงก็มักเลือกหักเงินสะสมในสัดส่วนที่ต่ำ และคงสัดส่วนนั้นไปเรื่อยๆ แม้ว่ารายได้ของตนเองสูงขึ้น และภาระทางการเงินลดลงไปแล้วก็ตาม จึงอยากแนะนำให้ลองกลับไปเช็กว่า ปัจจุบันเงินสะสมของเราเป็นสัดส่วนเท่าไร และเรามีกำลังที่จะสะสมในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้หรือไม่

 

การสะสมเงิน PVD ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ไม่เพียงจะช่วยให้ยอดเงินที่จะได้รับในช่วงบั้นปลายชีวิตเพิ่มขึ้นมาแล้ว เรายังสามารถนำยอดเงินสะสมใน PVD มาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้อีกด้วย

 

นโยบายการลงทุนของ PVD

PVD มีการกำหนดนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป บางบริษัทมีนโยบายการลงทุนให้เลือกเพียงแบบเดียว แต่หลายบริษัทมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลายตั้งแต่การลงทุนตราสารหนี้ หุ้นไทย หรือหุ้นต่างประเทศ

 

เมื่อเริ่มทำงาน เราจะมีโอกาสเลือกนโยบายการลงทุนของ PVD ที่เราต้องการสะสมเงินเข้าไป แต่เมื่อทำงานไปเรื่อยๆ เราอาจไม่ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนให้เหมาะกับตัวเรา

 

ดังนั้น ขอแนะนำให้สอบถามฝ่ายบุคคลของบริษัทว่า PVD ขอ

 

บริษัทมีนโยบายการลงทุนแบบไหนให้เลือกบ้าง หากมีหลายนโยบาย เราจะสามารถเลือกนโยบายที่เหมาะกับความสามารถในการรับความเสี่ยงและวัยได้

 

หากอายุยังน้อย และรับความเสี่ยงในการลงทุนที่สูงได้ ก็สามารถเลือกลงทุนใน PVD ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนที่สูง ในทางกลับกัน หากอยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุ หรือมีระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี ควรลงทุนใน PVD ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อให้ยอดเงินลงทุนไม่ลดลงจากภาวะความผันผวนของตลาดหุ้น

 

แม้ว่าการสะสมเงินผ่าน PVD จะเป็นช่องทางเก็บเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ แต่การส่งเงินเข้า PVD เพียงอย่างเดียว ก็ไม่เพียงพอที่เราจะใช้ชีวิตในช่วงเกษียณอายุได้ การลงทุนผ่านช่องทางอื่นอย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวม หุ้น ฯลฯ ที่เหมาะกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตเกษียณในช่วงบั้นปลายได้อย่างมีความสุข

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats