×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

ภาษีต้องรู้... เป๋าตัง-ถุงเงิน

17,989

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 372 (พ.ศ.2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อกำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดจากภาครัฐ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปี 2563 ดังนี้

 

  • เงินสนับสนุนที่ได้รับตามมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด -19 ) โครงการ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ของกระทรวงการคลัง และโครงการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ของกระทรวงแรงงาน (โครงการเราไม่ทิ้งกัน)

 

  •  เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ ท่องเที่ยว ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ค่าสปาหรือนวดเพื่อสุขภาพ ค่ารถเช่าหรือเรือเช่า เพื่อการท่องเที่ยว หรือค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

  •  ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อแพกเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยว ตามโครงการ กำลังใจ

 

  • ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าซื้อสินค้าอื่น ที่ได้ใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ ตามโครงการคนละครึ่ง

 

โดยกฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2563

 

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลได้จัดให้มีเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดตามมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (เราไม่ทิ้งกัน) โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการกาลังใจ และโครงการคนละครึ่ง สมควรกาหนดให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้มีเงินได้ได้รับตามมาตรการหรือโครงการดังกล่าว ในปีภาษี พ.ศ. 2563 เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎหมายนี้ชัดเจนแล้วว่าในฝั่งผู้ทีได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เงินดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษี แต่ในฝั่งของเจ้าของร้านค้าที่ได้รับเงินก้อนนี้ล่ะ ต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ และถ้าต้องเสียจะต้องเสียจากยอดเงินได้ไหน ตัวอย่างเช่น กรณีการซื้อสินค้าตามโครงการคนละครึ่ง ผู้ซื้อออก 50% ภาครัฐช่วยออก 50% ไม่เกินวันละ 150 บาท ดังนั้นในแต่ละวัน หากซื้อสินค้า 300 บาท ใช้สิทธิคนละครึ่ง ผู้ซื้อจ่าย 150 บาท ภาครัฐจ่าย 150 บาท จะถือเป็นเงินได้ของผู้ขายสินค้า (แอ๊ป “ถุงเงิน”) ที่ต้องเสียภาษีเงินได้เท่าไหร่

 

คำตอบ คือ 300 บาท สรรพากรจะถือว่ายอดเงินจากการขายทั้งหมดเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยสรรพากรได้ยกตัวอย่างภาษีที่ต้องเสียอย่างง่ายๆ แบบคิดค่าใช้จ่ายเหมา 60% และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

 

  • มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท ถึง 525,049 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ไม่มีภาษีต้องเสีย
  • มีรายได้ทั้งปี 525,050 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษี เริ่มต้น 1 บาท
  • มีรายได้ทั้งปี 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท
  • มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

 

อย่างไรก็ตาม หากมีเอกสารค่าใช้จ่ายจริง เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าจ้างลูกจ้าง หรือค้าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมา ก็เลือกหักตามค่าใช้จ่ายจริง ทำให้เสียภาษีน้อยลงได้อีก และ หากมีรายได้จากการขายทั้งปี 1,800,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน (ถ้าไม่จด มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) แถมมีหน้าที่พ่วงขึ้นมาอีกเพียบ เช่น ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดๆ ไป เป็นประจำทุกเดือน

 

แล้วถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ  ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ   ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี (นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

 

แล้วสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ก็รู้จากแอ๊ป “ถุงเงิน” นั่นแหละ ยังมีกฎหมายการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องส่งรายงาน “ยอดเงินรับโอน” “จำนวนครั้งที่รับโอน” “เลขบัตรประชาชน” สำหรับคนที่มีกยอดเงินรับโอนและจำนวนครั้งที่รับโอน (เงินไหลเข้าบัญชี) ต่อเลขบัตรประชาชนต่อสถาบันการเงิน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

 

  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่2ล้านบาทขึ้นไป

 

แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดี เพราะการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน เราจึงควรเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุด ก็เป็นสิ่งที่เราควรจะทำเช่นกัน ดังนั้น เมื่อต้องเสียภาษี ก็ควรศึกษาและวางแผนภาษีให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีค่าลดหย่อนหลายตัวที่สามารถช่วยเราประหยัดภาษีได้ เช่น RMF SSF ประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฯลฯ ซึ่งเป็นเงินออมที่นอกจากลดหย่อนภาษีได้ ผลตอบแทนยังยกเว้นภาษีให้อีก

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats