×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

6 หุ้นปลอดภัย ก่อหนี้ต่ำ

2,097

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

การไม่มีหนี้เป็นเรื่องประเสริฐ เช่นเดียวกับนักลงทุนที่ต้องการเห็นหุ้นที่ตัวเองลงทุนมีหนี้สินต่ำ หรือไม่มีเลยยิ่งดี เพราะการไม่มีหนี้หรือมีหนี้ต่ำ หมายถึง ความเสี่ยงทางการเงินต่ำ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าหุ้นที่มีหนี้ต่ำหรือไม่มีหนี้ เป็นบริษัทที่มีเงินสดหรือมีสภาพคล่องทางการเงินสูง

 

การจะดูว่าบริษัทมีภาระหนี้สินมากน้อยเพียงใด ให้ดูที่อัตราส่วนทางการเงินเรียกว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) แสดงถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของว่ามีมากน้อยเพียงใด 

 

  • D/E Ratio ต่ำ แปลว่า บริษัทมีหนี้สินน้อย แสดงถึงสินทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากเจ้าของบริษัท
  • D/E Ratio สูง แปลว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่ได้มาจากการก่อหนี้ แต่ D/E Ratio สูงก็อาจไม่ได้หมายถึงว่ามีความเสี่ยงสูง ถ้าบริษัทก่อหนี้เพื่อลงทุน ขยายกิจการ และได้ผลกำไรสูง หรือพูดง่าย ๆ กู้เงินเพื่อดำเนินธุรกิจให้เติบโต

 

D/E Ratio จะสะท้อนถึงการพึ่งพาการกู้เงินของบริษัท ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือการออกตราสารหนี้ จึงเป็นภาระผูกพันในรูปดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืนเมื่อถึงกำหนด ดังนั้น ถ้ามีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูงอาจทำให้มีปัญหาด้านสภาพคล่องและอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจหดตัว เกิดวิกฤติ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรดูอัตราส่วนนี้เป็นพิเศษก่อนตัดสินใจลงทุน

 

ถัดมาให้ดูอัตราส่วนทางการเงิน เรียกว่า หนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) ซึ่งจะบอกว่าบริษัทมีหนี้สินรวมเท่าไหร่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม ซึ่งแสดงว่าในจำนวนสินทรัพย์ทั้งหมด บริษัทมีการใช้เงินทุนจากการกู้ยืมมากน้อยเพียงใด 

 

  • Debt Ratio มีค่าต่ำ แปลว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากเจ้าของบริษัท
  • Debt Ratio มีค่าสูง แปลว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากการก่อหนี้ แต่การมีอัตราส่วนนี้สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี เพราะอาจเป็นช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจอาจไม่มีสินทรัพย์จึงอาศัยการก่อหนี้เพื่อนำมาลงทุนขยายกิจการ ซึ่งอาจทำให้ผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งได้ 

 

การที่บริษัทไม่มีหนี้เลยก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป บริษัทที่มีธุรกิจมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว และมีสินทรัพย์ถาวรที่สามารถใช้ค้ำประกันหนี้ได้ ดังนั้น การมีหนี้บ้างจึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ต้องระวังระดับหนี้มากจนเกินไปจนทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก

 

สำหรับ D/E Ratio และ Debt Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินบางส่วนที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรดูอัตราส่วนทางการเงินอื่นรวมถึงตัวเลขทางการเงิน และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอด้วย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats