5 Steps ปิดหนี้บัตรเครดิต
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
คำถามคาใจ ของคนที่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ
ว่าควรรีบโปะบัตรใบไหน? ยังควรใช้จ่ายบัตรเครดิตที่มีอยู่หรือไม่?
Wealth Me Up มีคำตอบมาฝากทุกคนกัน
‘แจกแจงยอดหนี้’ ของบัตรแต่ละใบ
รวบรวมบัตรเครดิต ว่าทั้งหมดมีอยู่กี่ใบ โดยแยกบัตรเป็นกลุ่ม ได้แก่
(1) ไม่มียอดหนี้ หรือยังจ่ายได้เต็มทุกเดือน
(2) มีใช้โปรแกรมผ่อนอยู่
(3) มียอดหนี้ค้าง จากการใช้จ่ายหรือกดเงินสดอยู่
(4) มีทั้งยอดหนี้ค้างจากการใช้จ่าย และโปรแกรมผ่อน
‘เช็กยอดชำระขั้นต่ำ’ ว่ายังไหวอยู่ไหม
ลองแยกยอดที่ต้องจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- ยอดผ่อนตามโปรแกรมผ่อน ของบัตรกลุ่ม (2) และ (4) ซึ่งเป็นยอดที่ต้องจ่ายเท่ากันทุกเดือน ไม่จำเป็นต้องรีบโปะ เพราะดอกเบี้ยมักถูกคิดล่วงหน้าไปแล้ว
- ยอดชำระขั้นต่ำ 5% ของยอดหนี้ จากการใช้จ่ายหรือกดเงินสด ซึ่งคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก จากบัตรกลุ่ม (3) และ (4) หากเร่งชำระหนี้ส่วนนี้ได้ ยอดหนี้ ยอดดอกเบี้ย และยอดชำระขั้นต่ำ รอบต่อ ๆ ไป จะลดลง
‘เร่งปิด’ บัตรทีละใบ
เร่งโปะหรือปิดหนี้บัตร จากใบที่มียอดหนี้ส่วนที่เป็นลดต้นลดดอกน้อยที่สุดก่อน ซึ่งแม้ด้วยยอดเงินโปะที่เท่ากันไม่ว่าจะโปะบัตรใบไหน ก็ช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้เท่ากัน เนื่องจากถูกคิดอัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี ทุกใบทุกธนาคาร
‘ใช้สินเชื่อส่วนบุคคล’ เท่าที่จำเป็น
หากไม่จำเป็นจริง ๆ โดยปัจจุบันยังคงชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตได้อยู่ ก็ควรเลือกชำระหนี้กับบัตรเครดิตต่อไป
เพราะแม้ยอดหนี้ที่เท่ากัน สินเชื่อส่วนบุคคลอาจผ่อนหรือชำระน้อยกว่าบัตรเครดิตในช่วงแรก แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลที่สูงสุด 25% ต่อปี จะส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายโดยรวมสูงกว่าการจ่ายบัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 16% ต่อปี
‘แยกบัตรใช้จ่าย’ ออกจากบัตรที่เป็นหนี้
แม้มีหนี้บัตรเครดิตอยู่หลายใบที่ยังไม่สามารถปิดหนี้ได้ แต่หากยังจำเป็นหรือเห็นประโยชน์การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ควรเลือกใช้จ่ายบัตรที่ไม่มีหนี้คงค้าง เพราะเมื่อถึงกำหนดหากชำระได้เต็มจำนวน ยอดการใช้จ่ายนั้นจะไม่ถูกคิดดอกเบี้ย
แต่หากใช้จ่ายด้วยบัตรที่ยังมีหนี้คงค้างอยู่ เมื่อถึงกำหนดแม้ชำระด้วยยอดเงินที่สูงกว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรในเดือนที่ผ่านมา ยอดหนี้นั้นก็จะถูกคิดอัตราดอกเบี้ย เพราะถือว่าบัตรนั้นมีหนี้ค้างจ่ายอยู่