3 เทคนิค สร้างบทสนทนาที่ดี
เคยไหม? ที่คุยกับใครแล้วรู้สึกถูกคอ แล้วมันจะดีไหม? ที่การพูดคุยในครั้งนั้นจะ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสที่ดีในชีวิต ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงศิลปะการสนทนา เพื่อสร้างการสนทนาที่ดี
ศิลปะการสนทนา คือ การฟังและการพูด มันเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา เพราะการสนทนาคือ การแลกเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องมีแผนการหรือเป้าหมาย ใช้เพียงความรู้สึกแล้วพูดมันออกมา
Ursula K.Le Guin นักประพันธ์และนักเขียนนวนิยาย ได้กล่าวว่า การสนทนาที่ดี แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ต้องตระเตรียม แต่เราก็ไม่สามารถปล่อยไปตามอำเภอใจ เราต้องอาศัยความระมัดระวัง ,สมดุล และความใจกว้าง
ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจถึงเบื้องหลังความคิดของการสนทนาที่ดีผ่านความคิดของคนในอดีตเหล่านี้กัน
1.การพูด ฝึกได้จากการฟัง
นึกถึงเรื่องที่ทำให้ “ฟัง” ได้อย่างตั้งใจ ก็จะสามารถสร้างสรรค์การพูดที่ดี เคยสังเกตไหม ว่าเรื่องที่เรามักจะฟังกันได้อย่างไม่มีปัญหา มักจะเป็นเรื่องที่มีอารมณ์ขัน และเรื่องที่ไม่ต้องใช้หลักการและเหตุผลมากมายนัก
เพราะเรื่องที่แฝงด้วยอารมณ์ขัน เป็นที่ยอมรับและเข้าใจกันได้อย่างทั่วไป การฟังเรื่องราวที่แทรกด้วยอารมณ์ขัน จะนำมาสู่การสร้างวงสนทนาที่ดี นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไม David Home นักปราชญ์และนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีอิทธิพลต่อนักคิดหลายคน ให้คุณค่าของคนที่มีอารมณ์ขัน เทียบเท่า คนที่เต็มไปด้วยปัญญาและความเฉลียวฉลาด
ส่วนเรื่องที่มีเหตุผล (ภายใต้ประสบการณ์ของเรา) ตราบใดที่เรื่องราวนั้นเป็นไปตามครรลอง หรือตรรกะของเรา เราก็จะรู้สึกยินดีที่การสนทนานั้นดำเนินต่อไป แต่เมื่อไหร่ก็ตาม หากเกิดความขัดแย้งในใจ จากความเชื่อ หรือค่านิยม เราจะปฎิเสธและหลีกเลี่ยงการสนทนานั้นทันที
คำถามก็คือ เราจะหลุดออกจากบ่อของความเอนเอียงและความขัดแย้งนั้นได้อย่างไร ?
2.ประโยคเปิด คือ ทางออกของปัญหา
Benjamin Frakin กล่าวไว้ว่า ความอารีโอบอ้อม และการเห็นอกเห็นใจ จะนำพามาซึ่งบทสนทนาที่ดี การจะสร้างความรู้สึกเหล่านั้นได้ต้องอาศัย “ประโยคเปิด” เพราะสิ่งนี้เป็นตัวสะท้อนของภาวะของการอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ , การทำความเข้าใจ และปรารถนาที่อยากรู้อย่างลึกซึ้ง
เมื่อเรากำลังพูดคุย ก็เหมือนนักสำรวจ ทุกคำพูดจะมีคำใบ้ ที่สร้างความเชื่อมโยงให้บทสนทนาดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งคือเรื่องของบทบาท เช่น เวลาที่อาจารย์พูดคุยกับนักเรียนอย่างเป็นกันเอง , เวลาที่ต้องไปกินข้าวร่วมกับครอบครัวของคู่หมั้น หรือเกิดความขัดแย้งของกลุ่ม 2 กลุ่มที่รู้ไส้รู้พุงกันดี
3.ตื่นตัวและเรียนรู้
การพูดคุยอย่างราบรื่น ดูจะเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร ดังนั้นเพื่อที่จะสร้างทิศทางของการสนทนา จำเป็นต้องอยู่บนวิธีคิด จากมุมประสบการณ์และความเข้าใจในผู้อื่น โดยมีความจำเป็นต้องตื่นตัวอยู่ตลอด เพราะอย่าลืมว่า การสนทนา คือเรื่องที่ต้องใช้การฟัง , คำพูด และการแสดงออก(ทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย)
แล้วเมื่อร่างกายรู้สึกตื่นตัว เราจะพบว่าการสนทนาจะเป็นไปได้ง่ายขึ้น John Searle นักปราชญ์ จาก University of California, Berkeley กล่าวไว้ว่า การสนทนา จำเป็นต้องดูเหมือนการแสดงออกที่อยู่ในเงาของความมุ่งมั่นตั้งใจ
อาจกล่าวได้ว่า บทสรุปของศิลปะการสนทนาที่ดี ประกอบด้วย การฟังที่ดี การคิดที่ใจกว้าง และการพูดที่แฝงด้วยอารมณ์ขันและความตื่นตัว นั่นเอง
กด Subscribe รอเลย…